Tuesday, 10 September 2024

คำศัพท์ของ Crypto

คำศัพท์ของ Crypto

คำศัพท์ของ Crypto ในเวลานี้หลายๆคนคงจะไม่มีใครไม่เคยได้ยินหรือไม่รู้จักเจ้า คริปโตเคอร์เรนซี่ (Cryptocurrency) หรือ เรียกง่ายๆว่า คริปโต ที่เวลานี้น่าจะเป็นคำที่แมสขึ้นมากในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา นั้นก็เพราะเป็นอีก 1 ทางเลือกสำหรับการลงทุนหนึ่ง ทว่าไอ้เจ้าคริปโต หรือ สกุลเงินดิจิทัลเนี่ยมันมีคำศัพท์อะไรบ้างที่เขานิยมใช้กันดังนั้นเราจะรวม คำศัพท์คริปโต ที่คนยุคใหม่ต้องรู้ ว่ามันมีความหมาย และ นิยามอะไรกันบ้าง

คำศัพท์ของ Crypto

  • To the moon : เหรียญราคาขึ้นสูงมากจนราวกับจะถึงดวงจันทร์
  • Whale : วาฬ หมายถึงผู้ที่ถือเหรียญคริปโตฯ ไว้มาก ๆ การซื้อขายแต่ละครั้งส่งผลกระทบครั้งใหญ่
  • HODL : โฮเดิล หมายถึง การถือเหรียญดิจิทัลโดยไม่ทําอะไร ไม่ว่าราคาจะขึ้น หรือ ลง ล้อเลียนมาจากการพิมพ์ คําว่า “Hold” ผิด ของชาวเน็ต
  • LAMBO : ราคาเหรียญอาจสูงขึ้น จนซื้อรถ Lamborghini ได้
  • Oracle : คือ คนที่คอยป้อนข้อมูลจากโลกแห่งความจริงเข้าสู่บล็อกเชน เพื่อให้ผู้พัฒนาอื่น เช่น DeFi นำข้อมูลไปใช้งานต่อ โดยข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าบล็อกเชน ก็มีทั้งราคาเหรียญ ราคาสินทรัพย์ รวมไปถึงข้อมูลทั่วไป เช่น สภาพอากาศ
  • FUD : ย่อมาจากคำว่า Fear (ความกลัว), Uncertainty (ความไม่แน่นอน), และ Doubt (สงสัย) จัดเป็นกลยุทธ์ชวนเชื่อในทางสื่อสารมวลชนสุดคลาสสิก โดยมีไอเดียหลักก็ คือ การทำให้คนทั่วไปรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์, เทคโนโลยี, หรือ ผู้สมัครคนนั้น ๆ ด้วยการปล่อยข้อมูลผิด ๆ ออกไป เพื่อหวังผลให้เกิดความรู้สึกในแง่ลบ
  • Memecoin :  เหรียญมีม หมายถึง เหรียญที่ถูกสร้างขึ้นโดยอิงจากมีมต่าง ๆ ที่โด่งดัง และ เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในขณะที่สร้างเหรียญนั้นขึ้นมา โดยเหรียญแรกของเหรียญมีมก็ คือ DOGE หรือ Dogecoin เรียกสั้น ๆ ว่าเหรียญหมา ในปี ค.ศ. 2021 (พ.ศ. 2564) เหรียญ DOGE มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ ทำให้เกิดคลื่นลูกใหญ่สำหรับเหรียญอื่น ๆ ที่มีชื่อแบบไม่อ้างอิงกับอะไรใด ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด (โดยมีศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนอย่าง Sushiswap ทำให้ทุกคนสามารถลิสต์เหรียญขึ้นมาได้ง่าย)
  • Rekt : (เร็กต์) คำนี้จะเกิดขึ้นเมื่อคุณถูกกวาดโดยเหล่า FOMO และ จบลงด้วยการเป็นเหยื่อของบรรดาผู้เล่นที่ทำการ Pump and Dump เมื่อนั้นก็ คือ คุณ Get Rekt แล้วเรียบร้อย โดยความหมายของคำ ๆ นี้ในทางเกมแล้ว หมายถึงการพ่ายแพ้อย่างหมดท่า ซึ่งความหมายนี้ก็ถูกเปรียบเปรยในทางเดียวกันกับตลาดคริปโต หรือ ก็คือ การขาดทุนยับเยินจากการหลงไปตามเกมของคนอื่นนั่นเอง
  • Altcoin : ก็ คือ Alternate Coin ซึ่งหมายถึงเหรียญใดก็ได้ที่ไม่ใช่เหรียญ Bitcoin สามารถเป็นได้ทั้งเหรียญที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองอย่าง Ethereum ไปจนถึงเหรียญอะไรก็ได้ที่มีอยู่ในตลาด ไม่ว่าจะมีค่า Market Cap ต่ำเตี้ยเรี่ยดินขนาดไหนก็ถือเป็น Altcoin หมด อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คุณควรจะเลือกลงทุนกับเหรียญที่อยู่ในกระแสหลัก (Mainstream) และ มีตลาดขนาดใหญ่รองรับ มากกว่าเหรียญอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในข่ายที่ว่านะ
  • FOMO : โพโม ย่อมาจากคําว่า “Fear Of Missing Out” ใช้ในสถานการณ์ตัวอย่าง เช่น หากมีชาวคริปโทเนียน พูดคุยกันแล้วถามว่า “ทําไมคุณถึงซื้อเหรียญนี้เหรอ” สามารถตอบได้ว่า “FOMO” ก็หมายถึง เดียวจะคุย กับเขาไม่รู้เรื่อง นั่นเอง
  • Decentralized Finance : คริปโตเพื่อระบบการเงินแบบไม่รวมศูนย์ ตัวนี้จะเป็นเหรียญคริปโตฯ ที่เป็นเหรียญของระบบ DeFi  หรือ decentralized finance คือ ระบบการเงินแบบไร้ตัวกลาง ไม่มีธนาคารนั่นเอง( หรือ เรียกกันอีกแบบว่า token) ซึ่ง DeFi ก็ คือ บริการทางการเงินที่สร้างขึ้นบนบล็อกเชน
  • Fish : ฟิช แปลตรงตัวก็ คือ ปลา แต่ถ้าในโลกของ ชาวคริปโทเนียน Fish ก็ คือ ผู้ซื้อขายคริปโทรายย่อย ที่มีมูลค่าการซื้อขายไม่มากพอที่จะมีนัยสําคัญต่อ ราคาตลาด ไม่เหมือนวาฬ (Whale)
  • Bullish : บูลลิช หรือ กระทั้ง เป็นคําที่ใช้กันมานาน เปรียบถึงสภาวะที่เป็นตลาดขาขึ้น สาเหตุที่เปรียบเหมือน กระทิง เพราะว่าเวลากระทิงจะจู่โจมจะมีลักษณะในการขวิด ขึ้นด้านบน ให้ศัตรูลอย หรือ กระเด็นขึ้น
  • ICO : ย่อมาจากคำว่า Initial Coin Offering หมายถึงวิธีการระดมทุนสำหรับโปรเจกต์คริปโตตัวใหม่ ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกันกับการเปิดเสนอขายหุ้นครั้งแรกของบริษัทให้กับสาธารณชนทั่วไปในตลาดหุ้น (IPO หรือ Initial Public Offering)
  • GameFi : เป็นตัวย่อที่เกิดจากคำสองคำมารวมกัน ได้แก่ Game และ Finance ในโลกของคริปโต คำ ๆ นี้จะเอาไว้พูดถึงเกมที่นำเอาระบบการเงินในรูปแบบต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับเกม และ ทำให้เกมเกมนั้นสามารถสร้างรายได้จากการเล่นในรูปแบบของ Play-to-Earn หรือ การเล่นเพื่อสะสมรายได้เป็นเงินสกุลคริปโต
  • Store of Value : คริปโตแบบรักษามูลค่าเป็นเหรียญประเภทนี้เป็นเหรียญที่มีจำกัด ออกมาเท่าไหร่ จำนวนบันทึกไว้เท่านั้น ไม่มีการเพิ่มจำนวน โดยมูลค่าเหรียญกลุ่มนี้จะขึ้นกับข่าวสาร และ ปริมาณความต้องการในตลาด เหรียญในประเภทนี้ได้แก่ Bitcoin (BTC), Litecoin (LTC), Bitcoin Cash (BCH) เป็นต้น
  • DYOR : ย่อมาจากคำว่า Dyour own research แปลเป็นไทยได้ว่า ลงมือค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง การจะลงทุนใดใดก็ตาม คุณควรเริ่มต้นศึกษาหน่วยลงทุนนั้น ๆ แล้วตัดสินใจลงทุนพร้อมประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองว่า จะทำการลงทุนเท่าไหร่ มากน้อยแค่ไหน และ ถ้าหากขาดทุน หรือ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น คุณสามารถรับความผันผวนได้ที่กี่เปอร์เซ็นต์ หรือ เงินต้นถูกลดจำนวนไปเท่าไหร่จึงจะอยู่ในจุดที่คุณไม่สามารถรับได้อีกต่อไป เพราะเงินของคุณ กระเป๋าของคุณ ตัวคุณเท่านั้น ที่จะสามารถประเมินตัวคุณเองได้ดีที่สุด
  • Pump and Dump : คือ ความพยายามในการปั๊มราคาสินทรัพย์ แล้วรีบ Cash Out หรือ แลกออกไปเป็นค่าเงินสากล / เงินสด (Fiat) ก่อนที่ราคาจะดิ่งลงเหว ซึ่งบรรดาเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีที่มี Market Cap น้อย มักจะประสบปัญหานี้อยู่เนือง ๆ เหล่านักลงทุนจะทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนราคาเหรียญที่ต้องการให้พุ่งขึ้น และ เมื่อราคาเหรียญสูงขึ้น บรรดานักจัดฉากทั้งหลายก็จะเริ่มเดินสายโปรโมทโอกาสอันดีนี้ไปในทุกแพลตฟอร์มโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์, Reddit, Discord, Facebook, คอมเมนท์บน Youtube, หรือ ที่ใดก็ตามที่คิดว่าการโปรโมทได้ผล เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาซื้อเหรียญนั้น ๆ ให้มากขึ้น
  • Swap : คือ การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์คลิปโตจากอีกหน่วยหนึ่ง ไปเป็นอีกหน่วยหนึ่ง เช่น การแลกเปลี่ยน BNB ไปเป็น BUSD หรือ การแลกเปลี่ยนเหรียญคริปโตไปเป็นสกุลคริปโตเพื่อใช้กับอีกแพลตฟอร์มหนึ่ง เช่น การแลกเปลี่ยน KUB ไปเป็น LUMI เพื่อเอาไว้ใช้จ่ายซื้อขายในเกม Morning Moon Village ที่เป็นเกมในเชนของ Bitkub เอง เป็นต้น
  • Bearish : แบริช หรือ หมี เป็นคําที่แทนสภาวะที่ตรงกันข้ามกับ Bullish ก็ คือ สภาวะตลาดขาลง สาเหตุที่เปรียบเทียบเหมือนหมี เพราะว่าเวลาที่หมีจู่โจมจะใช้อุ้งมือลากเหยื่อลงมาหาตัว และ ทุบเหยื่อ
  • Wallet : หรือ กระเป๋าตังค์ในโลกคริปโต เป็นที่ที่เอาไว้เก็บเงินคริปโตของคุณ ซึ่งบรรดา Exchange ทั่วไป มักจะมีกระเป๋าเงินดิจิตอลไว้ให้คุณอยู่แล้ว ซึ่งกระเป๋าคริปโตที่ว่า จะมีทั้งกระเป๋าแบบร้อน (แบบออนไลน์ และ แบบสร้างขึ้นจากซอฟต์แวร์) และ แบบเย็น (แบบออฟไลน์ ซึ่งมักจะอยู่ในอุปกรณ์แยกออกไปต่างหาก)

คำศัพท์ของ Crypto Fiat

Fiat (ฟีอาท) เป็นหนึ่งในคำศัพท์ที่สำคัญ และ เราควรทราบเป็นอย่างยิ่งในวงการเงิน, การธนาคาร, และ ในวงการคริปโตด้วยเหมือนกัน คำ ๆ นี้หาใช่ “แบรนด์” รถยนต์สัญชาติอิตาเลียนแต่อย่างใด Fiat ที่จะกล่าวถึงในทีนี้หากแปลกันในความหมายตรง ๆ ตัวแล้วจะได้ความว่า คำสั่ง, พระราชกฤษฎีกา, พระบรมราชโองการ หรือ คำพิพากษา

Fiat Money ในความหมายของเรา คือ “เงินที่ไม่ได้มีคุณค่าในตัวเอง” หรือ เงินกระดาษที่ไม่ได้มีเครื่องการันตีมูลค่าจากสิ่งอื่นใด นอกเหนือจาก “คำสั่งของรัฐบาล” ที่กำหนดให้เงินกระดาษเหล่านี้มีมูลค่าและ สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ต้นเรื่องมันมีอยู่ว่า ในสมัยก่อนนั้นเงินจะได้รับการตีมูลค่าจากทองคำซึ่งเรียกว่าระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard) มันเป็นระบบมาตรฐานการเงินระหว่างประเทศระบบแรกในโลก ตัวอย่างเช่น ในช่วง 1970 ทองคำ 1 ออนซ์ = $35 รัฐบาลจะต้องมีทองคำคงคลัง 1 ออนซ์ ถึงจะสามารถพิมพ์เงินมูลค่า $35 ออกมาใช้ในระบบได้

ระบบนี้ (Gold Standard) ถูกใช้งานจริงประมาณ 50 ปีก่อนที่จะถูกยกเลิกไปเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514 โดย นาย ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) ประธานาธิบดีคนที่ 37 แห่งสหรัฐอเมริกาได้ออกคำสั่งว่า เงินดอลลาร์สหรัฐจะไม่ใช้ระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard) เป็นตัวค้ำประกันการพิมพ์ธนบัตรอีกต่อไป สั่งกันดื้อ ๆ แบบ นี้แหละ

Fork

Fork (โฟร์ค) แปลกันตามความหมาย เป็น “คำนาม” จะได้ความว่า ส้อม, คราด หรือ ไม้ง่าม หากแต่ถ้าแปลเป็น “คำกริยา” จะแปลได้ว่า แบ่งแยกออกจากกัน

เราคงจะพอได้ยินผ่านหูกันมาบ้างแล้วในวงการคริปโตสำหรับคำ ๆ นี้ เจ้า Fork ที่ว่านี้ก็คือการแยก “โซ่หลัก” ของ Blockchain ของเหรียญออกมา ซึ่งสาเหตุของการแยกโซ่นี้ก็มีมากมายหลายหลายเหตุผล ตัวอย่างเช่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบให้เร็วขึ้น หรือ การเพิ่มมาตราการรักษาความปลอดภัยของระบบ เป็นต้น

ไอ้เจ้าส้อมที่ว่ามานี้ยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Soft Fork และ Hard Fork

  • Soft Fork หรือ เจ้าส้อมนิ่ม คือการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดต่าง ๆ แบบเบา ๆ ตามที่เคยถูกใช้ใน Blockchain โซ่เดิม แต่อาจจะมีการเพิ่มขนาด Block หรือ เปลี่ยนคำสั่ง Protocol ใหม่บางตัว แต่ Block เดิมก็ยังคงสามารถใช้งานได้ตามปกติไม่ได้กระทบคำสั่งหลักของระบบ
  • Hard Fork หรือ เจ้าส้อมแข็ง ค่อนข้างจะดุร้าย และ โหดสักหน่อย มันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่แบบเต็มรูปแบบของทั้งระบบ จะคล้าย ๆ กับการสร้างระบบขึ้นมาใหม่ที่ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบเดิมได้ โดยการแก้ไข SOURCE CODE ของระบบเดิม และ สร้างระบบคำสั่งใหม่แยกออกมาเป็นของตัวเอง กลายเป็นเหรียญตัวใหม่เลยในทันที ตัวอย่างเช่น Bitcoin Cash และ Ethereum Classic

Decentralized

Decentralized (ดี-เซ็น-ทรัล-ไลซ์) แปลความได้ว่า การกระจาย หรือ แบ่งแยกอำนาจออกจากศูนย์กลาง ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกับ Centralized (เซ็น-ทรัล-ไลซ์) ซึ่งแปลว่าการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง

“Decentralized” ได้กลายมาเป็นคำที่ได้ยินติดหูผู้คนในวงการคริปโตมากขึ้นนับตั้งแต่ Bitcoin ได้ก้าวเข้ามาเป็นแม่ทัพในการปฏิวัติระบบการเงินใหม่ โดยใช้ Decentralized เป็นหัวหอกสำคัญที่จะใช้ทำลายโล่ของระบบการเงินแบบเดิมที่เป็นแบบ Centralized โดยมีธนาคารเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของระบบเดิม

โดยเดิมทีนั้นธนาคารจะเป็นผู้มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการระบบการเงิน หรือ สามารถแม้กระทั้งตั้งราคาค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ตามต้องการ ในทางกลับกัน Blockchain Technology นั้นกลับใช้ระบบการกระจายอำนาจตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินโดยใช้พยานการตรวจสอบเป็นผู้ใช้งานในระบบเองช่วยกันดูแล ซึ่งทำให้มีต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก และ เป็นการกำจัดตัวกลางของการทำธุรกรรมอย่างเช่น ธนาคาร ออกจากระบบเสียอีกด้วย

เราคงต้องมาตามดูกันยาว ๆ ว่าในท้ายที่สุดแล้ว หอกที่ชื่อว่า “Decentralized” จะสามารถทำลาย โล่ของธนาคาร และ สถาบันการเงินอย่าง “Centralized” ลงได้หรือไม่

Altcoin

Altcoin (อัล-คอยน์) คำ ๆ นี้เกิดจากการผสมคำกันระหว่าง Alternative (อัล-เทอร์-เน-ทีฟ) ซึ่งแปล ว่าทางเลือกอื่น ๆ กับคำว่า Coin (คอยน์) ซึ่งแปลว่าเหรียญ รวมกันแล้วได้ความว่า “เหรียญทางเลือก”

ซึ่ง “เหรียญทางเลือก” หรือ Alternative Coin จะเรียกกันย่อ ๆ ว่า “Altcoin” เจ้าอัลคอยน์ ที่ว่านี้ จะหมายถึงเหรียญทุก ๆ เหรียญที่ไม่ใช่ Bitcoin ซึ่งถือกันว่าเป็นเหรียญ Master ของวงการคริปโต Ethereum, Ripple, Bitcoin Cash, Litecoin, Stellar, NEO และ เหรียญอื่น ๆ อีกกว่าพันเหรียญล้วนเป็น เหรียญ Altcoin (อัล-คอยน์) ทั้งสิ้น

Airdrop

Airdrop (แอร์-ดร็อป) = แปลกันตรง ๆ ตัวได้ความว่า การทิ้งสิ่งของจากเครื่องบินโดยใช้ร่มชูชีพ หรือ ให้เข้าใจกันง่าย ๆ คือ ของที่ทิ้งลงมาให้เราสามารถเก็บไปได้ฟรี ๆ นั่นเอง มันเป็นวิธีการง่าย ๆ วิธีหนึ่งที่เจ้าของ Project ทำการกระจายเหรียญของตนเองออกสู่ตลาดในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว โดยการแจกเหรียญอาจมีเงื่อนไขบางประการ เช่น จะแจกเหรียญนั้น ๆ ให้กับผู้ที่กดติดตาม หรือ ลงทะเบียนรับข่าวสารของตัว Project ไว้ แล้วก็สามารถรับรางวัลเหรียญกันไปได้แบบฟรี ๆ

ตัวอย่างเช่น เหรียญ Ont (Ontology) ซึ่งแจก Airdrop ออกมาเที่ยบมูลค่าได้นับแสนบาทเลยทีเดียวครับ


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save