Wednesday, 11 September 2024

Decentralized Finance คือ

Decentralized Finance คือ

Decentralized Finance คือ แอปพลิเคชันทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ไม่จําเป็นต้องมีตัวกลาง (ธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ) DeFi ถูกต่อยอดขึ้นมาจากเทคโนโลยี Blockchain ที่ทําหน้าที่คอยจัดเก็บข้อมูลธุรกรรม DeFi หรือ “การเงินแบบกระจายอำนาจ” และ มีเป้าหมายเพื่อสร้างบริการทางการเงินที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน โดยแพลตฟอร์ม DeFi สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีผู้ใดควบคุมเนื่องจาก Smart Contract หรือ “สัญญาอัจฉริยะ” ในระบบสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองเมื่อเงื่อนไขครบตามที่ร่างไว้

Decentralized Finance คือ

DeFi คือแอปพลิเคชันทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ไม่จําเป็นต้องมีตัวกลางอย่างธนาคาร หรือ สถาบันการเงินต่าง ๆ ถูกต่อยอดมาจากเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งทำหน้าที่คอยจัดเก็บข้อมูลธุรกรรม มีเป้าหมายเพื่อสร้างบริการทางการเงินที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน โดยแพลตฟอร์ม DeFi สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองไม่ต้องมีผู้ควบคุมเนื่องจาก Smart Contract หรือ สัญญาอัจฉริยะ ในระบบสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองเมื่อเงื่อนไขครบตามกำหนด

DeFi ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นบน Ethereum Chain เนื่องจาก Ethereum ใช้ภาษาโปรแกรม Solidity ที่เอื้อต่อการสร้าง Smart Contract และ ยังเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่ใหญ่ที่สุดรองจาก Bitcoin จึงมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก

จุดประสงค์ของ DeFi

DeFi เกิดขึ้นมาจากความต้องการทำธุรกรรมทางการเงินที่รวดเร็ว ไร้ตัวกลาง และ มีค่าใช้จ่ายต่ำ การใช้ระบบการเงินแบบดั้งเดิมต้องพึ่งพาความช่วยเหลือของสถาบันการเงิน หรือ ธนาคาร ในการสร้างความน่าเชื่อถือในการตรวจสอบธุรกรรมนั้น ๆ โดยทั้งหมดมีค่าธรรมเนียมที่สูง อีกทั้งยังมีระยะเวลาดำเนินการที่นานกว่าอีกด้วย

แต่เมื่อไร้ตัวกลาง เราจะได้รับประโยชน์ทางการเงินมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อฝากเงินธนาคารโดยได้ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี ธนาคารนำเงินของเราไปปล่อยกู้คิดดอกเบี้ย 4-6% ธนาคารรับดอกเบี้ยเฉลี่ย 5% เหลือกำไรให้เราแค่ 0.5%

นั่นหมายถึงตัวกลางอย่างธนาคารได้ประโยชน์ หรือ กำไรเยอะมากจากการที่เอาเงินเราไปปล่อยต่ออีกที ทำไมธนาคารต้องหักเงินไว้จำนวนมาก ก็เพราะมีคนเป็นหมื่นคน มีสาขามากมาย ต้นทุนธนาคารมีมหาศาล ทำให้มีภาระที่ต้องหาเงินมาเพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้

ด้วยปัญหาทั้งหมดข้างต้นเหล่านี้ DeFi จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างระบบทางการเงินที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถส่งและรับรายการธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วบนระบบบล็อกเชนโดยชำระค่าใช้จ่ายเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายการทำธุรกรรมในแบบดั้งเดิม

ยิ่งไปกว่านั้น DeFi ยังมอบโอกาสการเชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้แบบไร้พรมแดนด้วยระบบที่ผู้ใช้สามารถเลือกสมัคร หรือ เชื่อมต่อได้ด้วยตนเอง แบบไม่พึ่งตัวกลางใด ปัจจัยนี้ส่งผลให้ DeFi มีความกระจายอำนาจ

DeFi ดอกเบี้ยสูง

เมื่อไม่มีตัวกลาง DeFi จึงเป็นแพลตฟอร์มเสมือนธนาคารออนไลน์ที่ฝากเงินไว้เพื่อไปปล่อยที่อื่นต่อ เงินที่นำไปฝากไม่ใช่เงินเฟียตหรือเงินบาท แต่เป็นเงินสกุลคริปโทเคอร์เรนซี

ดอกเบี้ยของ DeFi สูงกว่า 100% สาเหตุที่ได้รับดอกเบี้ยอัตราสูงมาก เนื่องจาก ไม่มีตัวกลาง มีแต่ระบบ ต้นทุนต่าง ๆ จึงไม่มากเท่าเดิม จากการหัก 3-4% เพื่อเป็นค่าบริการ แต่ DeFi อาจเหลือเพียง 0.2-0.5% จึงทำให้ได้รับดอกเบี้ยเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า

อีกทั้งในโลกของ DeFi เราสร้างสกุลเงินของตัวเองขึ้นมา และ เปิดโอกาสให้คนเข้ามาฝากเงินกับเราได้ เมื่อกระตุ้นให้คนนำเงินมาฝากได้ นั่นหมายถึงการมีสภาพคล่อง เราสามารถเอาสภาพคล่องที่มีอยู่ไปปล่อยที่อื่นต่อ หรือ สร้างดอกเบี้ยกลับเข้ามาได้ ยิ่งมีคนฝากมากเท่าไหร่ก็ยิ่งสร้างรายได้ให้เรามากเท่านั้น และ นำรายได้ที่ได้มากลับไปคืนคนที่มาฝากกับเราได้เยอะมากขึ้นได้

ฉะนั้น การจะกระตุ้นให้คนเข้ามาฝากกับเรามากขึ้น คือ การสร้างสกุลเงินของตนเองขึ้นมาอีกสกุล ในโลกคริปโทสร้างได้ไม่ยาก เราเรียกสกุลเงินที่สร้างขึ้นมาของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ว่า governance token สกุลเงินเหล่านี้เมื่อมีคนเอามาฝากมากขึ้น มีคนต้องการมากขึ้น มีดีมานด์ และ ซัพพลาย สกุลเงินที่เราสร้างก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยที่เขาได้ไป ก็จะได้เป็นสกุลเงินที่เราสร้างขึ้นไปแทน

ฉะนั้น เมื่อเป็นสกุลเงินที่สร้างขึ้นเอง เราสามารถให้ดอกเบี้ยสูงได้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าการฝากเงินในโลก DeFi บางแห่ง ดอกเบี้ย 100% หรือ 1,000% ก็มี คำถามคือ ผู้ให้บริการ DeFi เหล่านั้น มีความน่าเชื่อถือหรือไม่

DeFi มีความเสี่ยงหรือไม่

DeFi เป็นบริการทางการเงินที่เพิ่งเกิดขึ้น เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นไม่นาน เมื่อเจ้าของเขียนโค้ดไม่ดีก็มีโอกาสโดนโจมตีได้ไม่ยาก เราจึงจำเป็นต้องดูสถานที่ที่จะนำเงินไปฝากไว้ใน DeFi หรือ เว็บไซต์เหล่านั้นว่าน่าเชื่อถือ หรือ ไม่

มูลค่าเงินที่คนนำไปฝากไว้ของแต่ละผู้ให้บริการ ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้เปิดโอกาสให้คนที่มีเงินสกุลคริปโทนำเงินไปฝากไว้ มีหลายวิธี เช่น บางคนนำไป stake หรือ เรียกว่าการไป farm หรือ บางคนเรียกภาพรวมเหล่านี้ว่า การทำ yield farming

อย่างไรก็ตาม การลงทุนคริปโทเคอร์เรนซีย่อมมีความเสี่ยง และ ระบบ DeFi ก็ย่อมมีความเสี่ยงเฉพาะตัวด้วยเช่นกัน เนื่องจากว่าระบบ DeFi ถูกสร้างบนแพลตฟอร์มของ Ethereum เมื่อบล็อกเชนของ Ethereum มีการปรับปรุง หรือ ขยายขนาดระบบให้รองรับจำนวนผู้ใช้ที่มากยิ่งขึ้น ปัญหาที่อาจตามมาได้ คือ ความค้างคาของรายการธุรกรรมต่าง ๆ และ ค่าธรรมเนียมที่แพงขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ

นั่นอาจส่งผลให้เกิดความขัดข้องของระบบและปิดกั้นไม่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าระบบเพื่อตรวจสอบสินทรัพย์ตัวเองได้ รวมทั้งยังมีอีกหลากหลายปัจจัยทางการตลาดที่ยังสามารถส่งผลต่อผู้ใช้บนระบบ DeFi ได้โดยตรงไม่ว่าจะเป็นราคาของเหรียญที่ลดฮวบ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบทั้งหมด

DeFi ที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน

การปล่อยกู้ (Lending)  

Compound จะมีคอนเซปต์การทำงานคล้ายกับธนาคารคือรับฝากเงินเข้ามาแล้วนำไปปล่อยกู้ จากนั้นนำดอกเบี้ยปล่อยกู้มาจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ฝากเงิน (คล้ายกับย่อแบงก์มาอยู่ใน Smart Contract) แต่ Compound จ่ายดอกเบี้ยเป็นวินาที ดอกเบี้ยไม่นิ่งเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งกลไกนี้สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ Smart Contract ของ Compound ดังนั้น แทนที่จะถือคริปโทฯ ไว้เฉยๆ ถ้าเราไม่ได้เอาไปเทรด เราก็เอาคริปโทฯ ไปฝากไว้ที่ Compound เพื่อรอรับดอกเบี้ย ให้เงินคริปโทฯ มันทำงาน  

Stablecoin

MakerDAO เป็นแพลตฟอร์มสร้าง Stablecoin คอนเซปต์การทำงานคือ เรานำ ETH (ซึ่งปกติราคาจะผันผวน) เอามาเป็นหลักประกันไว้ที่ MakerDAO เพื่อที่จะได้รับ DAI (ซึ่งเป็น Stablecoin หรือเหรียญที่ราคาค่อนข้างนิ่ง) ในอัตรา 1.5 เท่า เช่น อยากได้ DAI 100 ล้านดอลลาร์ต้องนำ ETH ไปเป็นหลักประกัน 150 ล้านดอลลาร์ (เมื่อเราได้ DAI มาก็อาจจะนำไปฝากไว้ที่ Compound เพื่อกินดอกเบี้ย)  

Decentralized Exchange

หรือตลาดแลกเปลี่ยนที่ไม่มีตัวกลาง เช่น Uniswap  มีคอนเซปต์ คือ แลกเปลี่ยนได้ทันที โดยที่ไม่มีใครรู้ว่าเราเป็นใคร ต่างจาก Exchange แบบปกติทั่วไปที่ต้องผ่านการทำ KYC แต่รูปแบบนี้คือเป็นส่วนตัว รู้แค่ว่าแอดเดรสไหนแลกหรียญแต่ไม่รู้ว่าใครแลก 

เลดี้ฯ ขอเสริมตรงนี้นิดหนึ่งว่า ปัจจุบันในบ้านเรา มี Decentralized Exchange เกิดขึ้นแล้วชื่อแบรนด์ KULAP ซึ่งได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจจากกระทรวงการคลัง โดยสำนักงาน ก.ล.ต.

สรุป Decentralized Finance คือ

DeFi หรือ Decentralized Finance เกิดจากเทคโนโลยี Blockchain และ Smart contract ซึ่งเป็นบริการทางการเงินแบบไร้ตัวกลางอย่างธนาคาร หรือ สถาบันการเงินต่าง ๆ ผู้ใช้สามารถใช้งานฟังค์ชันหลากหลายรูปแบบเพื่อลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลของตนเอง และ ยังสามารถร่างสัญญาต่าง ๆ ผ่าน Smart Contract ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง และ การลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบ DeFi ก็มีความเสี่ยงไม่แพ้กัน นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนลงทุนเสมอ และควรหมั่นทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงประเภทต่างๆ อาทิ โอกาสการถูกแฮ็กผ่านจุดบกพร่องต่าง ๆ ความขัดข้องของระบบ ราคาเหรียญที่ลดฮวบ หรือ ผลกระทบใดๆก็ตามที่ได้รับจาก Ethereum


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save