Wednesday, 11 September 2024

Web 3.0 คือ

web 3.0 คือ

Web 3.0 คือ ทำไมถึงเป็นอินเทอร์เน็ต The Next Era โครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ในการสร้างจักรวาล Metaverse ก่อนจะอธิบายตรงนี้เรามาย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน การเกิดขึ้นของ “อินเทอร์เน็ต” ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้น ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกเทคโนโลยีเลยก็ว่าได้ นวัตกรรมตัวนี้ได้เข้ามาสร้างสิ่งที่ไม่คาดคิดหลายอย่างให้เกิดขึ้น และ ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

แต่เมื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามาสร้างให้เกิดเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ ๆ สิ่งเหล่านี้ก็กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อินเทอร์เน็ตถูกพัฒนาไปเช่นกัน จนตอนนี้โลกของเรากำลังจะก้าวเข้าสู่รุ่นที่ 3 ที่เรียกว่า Web 3.0 แล้ว

วิวัฒนาการของเว็บไซต์

โดยก่อนอื่นเราขออนุญาตเริ่มจากการเล่าถึงวิวัฒนาการของเว็บไซต์ก่อน เพื่อให้ทุกคนทราบเกี่ยวกับลักษณะของแต่ละรูปแบบ และ ทราบถึงข้อกำจัดในการใช้งานต่าง ๆ ที่เป็นเหตุให้มีการพัฒนาเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้

WEB 1.0

Web 1.0 เป็นเว็บไซต์ในช่วงยุคเริ่มต้นราวปี 1990 – 2000 ที่สร้างขึ้นจาก ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) เป็นวิศวกร และ นักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษผู้คิดค้นระบบข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อของ World Wide Web โดยได้มีการออกแบบเทคโนโลยีที่เป็นองค์ประกอบหลัก 3 อย่าง ซึ่งเป็นรากฐานของเว็บไซต์ได้แก่ HTML, URL และ HTTP

Web 1.0 จะทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบสื่อสารทางเดียว (One Way Communication) โดยผู้สร้างเนื้อหา หรือ เจ้าของเว็บ จะเป็นผู้กำหนดส่วนของเนื้อหาทั้งหมดให้แก่ผู้ใช้งาน หรือ ผู้บริโภค รับรู้ข่าวสารได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่สามารถโต้ตอบอะไรได้ และ ข้อมูลที่มีการนำเสนอมานั้นจะมีลักษณะแบบคงที่ (Static) เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถทำการอัปเดตได้นอกจากเจ้าของ หรือ ผู้สร้างเนื้อหา ส่งผลให้เกิดข้อกำจัดทั้งในเรื่องของการสื่อสาร และ การใช้งานระหว่างกัน จนได้มีการเริ่มพัฒนาต่อเป็น Web 2.0 ขึ้นมา

WEB 2.0

Web 2.0 เป็นการพัฒนาให้สามารถทำได้ทั้งอ่าน และ เขียนเพื่อโต้ตอบกันได้อย่างอิสระเป็นแบบสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) และ ข้อมูลข่าวสารที่มีการนำเสนอนั้นจะมีการพัฒนาเป็นแบบ Dynamic สามารถอัปเดตข่าวสารได้ตลอดเวลา ส่งผลให้ผู้ใช้งานสามารถเป็นได้ทั้งผู้สร้าง และ ผู้บริโภคในการสร้างสรรค์เนื้อหา Content ต่าง ๆ หรือ พูดคุยโต้ตอบระหว่างกันบนเว็บไซต์ได้ ทำให้การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานมากมายบนอินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดเป็นสังคมออนไลน์ Social Network และ มีข้อมูลเป็นจำนวนมหาศาลหลั่งไหลเข้ามาสู่อินเทอร์เน็ต เป็นเหตุให้จำเป็นต้องมีตัวกลางอย่าง Facebook (Meta), Google เข้ามาทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยดูแลจัดการข้อมูลทั้งหมด และ เชื่อมต่อผู้คนต่าง ๆ เข้ามาใช้งานได้อย่างสะดวก เป็นต้น

แต่ทว่าปัญหาตามมาทีหลัง เช่น ตัวกลางเป็นคนดูแลข้อมูล จะทราบถึงข้อมูลส่วนบุคคล และ พฤติกรรมของผู้ใช้งานทั้งหมด ซึ่งสามารถนำไปแสวงหาผลประโยชน์ได้แก่ การขายข้อมูลให้แก่องค์กรต่าง ๆ, การขายโฆษณาต่าง ๆ บนพื้นที่เว็บ เพื่อสร้างรายได้เป็นจำนวนมหาศาลให้แก่ตนเอง เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในสาเหตุของการต่อยอดพัฒนาแนวคิด Web 3.0 ที่จะลดทอนบทบาทของตัวกลางออกไป และ มอบสิทธิการดูแลควบคุมข้อมูลให้แก่ผู้ใช้งานอย่างแท้จริง

Web 3.0 คือ

Web 3.0 มีการคาดการณ์ไว้ว่า จะเป็น The Next Era of the Internet ที่จะมีความอัจฉริยะมากขึ้น สามารถทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติ และ ยุคนี้เองที่จะทำให้เทคโนโลยีอย่าง Machine Learning (ML), Big Data, AI, Blockchain และ เทคโนโลยีอัจฉริยะอื่น ๆ สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และ วิวัฒนาการไปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดย Tim Berners-Lee ผู้คิดค้น World Wide Web ได้กล่าวไว้ว่า Web 3.0 จะเป็น Semantic Web หรือ เว็บที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างระบบ คน และอุปกรณ์ IoT ได้แบบอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น การสร้างคอนเทนต์ และ การตัดสินใจ จะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างคน และ เครื่องจักร ซึ่งจะทำให้การสร้างคอนเทนต์บนโลกอินเทอร์เน็ตมีความพิเศษมากขึ้น โดยจะสามารถสร้างสิ่งที่ตรงตามความต้องการของแต่ละผู้ใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตได้เลย

คำอธิบายของ Web 3.0 ยังบอกเพิ่มเติมอีกว่า จะเป็นแหล่งกักเก็บ Data แบบ Decentralized หรือ แบบกระจายออกจากศูนย์กลาง ซึ่งแตกต่างจาก Web 2.0 ที่ Data ส่วนใหญ่จะถูกจัดเก็บไว้แบบ Centralized หรือ ที่ศูนย์กลางมากกว่า

และ การรันข้อมูลบน Protocol แบบ Decentralized จะเหมือนกับเทคโนโลยีอย่าง Blockchain และ Cryptocurrency ทำให้คาดการณ์ได้ว่า ในอนาคตจะเห็นการทำงานร่วมกันของ 3 เทคโนโลยีนี้แบบไร้รอยต่อ บน Smart Contract ที่จะทำให้ทุกอย่างก้าวหน้าไปอีกขั้น ตั้งแต่ การทำ Microtransaction, Peer-to-Peer การกักเก็บข้อมูล การทำงานข้ามแอปพลิเคชัน ไปจนถึง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจของหลาย ๆ องค์กร และ ในอนาคตจะเห็นว่า DeFi Protocol ที่เราเห็นกันตอนนี้นั้น จะเป็นแค่สิ่งเล็ก ๆ เมื่อยุคของ Web 3.0 มาถึง

Web 3.0 คือ มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

เราจะขออ้างอิงองค์ประกอบของ Web 3.0 จาก Web 3.0 Foundation ที่ได้แสดงข้อมูลของ Technology Stack ของเว็บไว้ให้ โดยแบ่งออกเป็น 5 Layers ได้แก่

  • Layer 0 เป็นส่วนพื้นฐานของ Stack เทคโนโลยีของ Web 3.0 ที่ประกอบไปด้วยวิธีการสื่อสารของ Nodes ต่าง ๆ และ วิธีการติดตั้งโปรแกรมในระดับ Lowest Level
  • Layer 1 เป็นส่วนที่ทำหน้าทั้งในส่วนของการจัดเก็บ, แจกจ่าย และ การโต้ตอบข้อมูลระหว่าง Nodes ด้วยกัน
  • Layer 2 เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุน Layer 1 ด้วยการเพิ่มความสามารถฟังก์ชันต่าง ๆ อย่างเช่น การทำ Scaling, การจัดเก็บข้อมูลแบบเข้ารหัส (Encrypted Messaging) และ Distributed Computing (เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกันบนเครือข่ายเข้าเป็นกลุ่ม เพื่อแบ่งปันข้อมูล และ ประสานพลังการประมวลผล)
  • Layer 3 เป็นส่วนเกี่ยวกับภาษาโปรแกรมมิ่ง และ Libraries ที่รวบรวมชุดฟังก์ชันต่าง ๆ เพื่อสำหรับให้นักพัฒนาเข้ามาใช้พัฒนาตัว Applications ได้อย่างเหมาะสม
  • Layer 4 เป็นส่วนบนสุดของ Stack ที่ได้รวบรวมโปรแกรมต่าง ๆให้ผู้ใช้งานทั่วไป ที่ไม่ใช่นักพัฒนาเข้ามาใช้งานโดยตรงกับ Blockchain ได้

WEB 3.0 มีประโยชน์อย่างไร

Open and Permissionless

Web 3.0 นั้นจะให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร หรือ บริการต่าง ๆ ได้อย่างอิสระปราศจากตัวกลางเข้ามาคอยควบคุม และทำการ Censorship การเข้าถึงข้อมูลและบริการต่าง ๆ เช่น บริการทางการเงินที่บางประเทศนั้นไม่อนุญาตให้มีการเปิดบัญชีธนาคารเป็นของตัวเองได้ เป็นต้น

ความปลอดภัยและสิทธิความเป็นเจ้าของข้อมูล

Web 3.0 นั้นมีการใช้งานเทคโนโลยีเบื้องหลังของคริปโตฯ ต่าง ๆ เช่น Bitcoin, Ethereum, Polkadot เป็นต้น ส่งผลให้ระบบการเก็บรักษาข้อมูลนั้นมีความปลอดภัย สามารถตรวจสอบได้ และมีการกระจายอำนาจจากตัวกลางที่ควบคุมข้อมูล จึงทำให้ผู้ใช้งานมีสิทธิความเป็นเจ้าของข้อมูลตนเองอย่างเต็มที่

สรุป

กล่าวโดยสรุป Web 3.0 ยังเป็นแนวคิดของรูปแบบเว็บไซต์ในอนาคต แต่ด้วยพัฒนาการสินทรัพย์ดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะสามารถนำมาปรับใช้เป็นพื้นฐานในการสร้าง Web 3.0 ได้ ซึ่งจะทำให้แนวคิดในอุดมคติที่วางเอาไว้สามารถทำให้กลายมาเป็นความจริงได้ ส่วนการพัฒนา และ การเติบโตของ Web 3.0 จะส่งผลดีต่อคริปโตเคอเรนซีตัวไหน หรือ ส่งผลดีต่อธุรกิจใดบ้าง เพราะธุรกิจนั้นอาจจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เราสามารถเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของได้ บทความหน้าเราจะมาขยายความเพิ่มเติมกันอีกครั้ง


เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไปโดยไม่ปฏิเสธคุกกี้ เราจะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save